วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การไม่ตัดสินใจ

ในที่สุดก็ยังไม่ได้เขียนเรื่อง AEC ต่อจนได้ แต่2 -3 วันนี้มีเรื่องท่่ีได้มาจากการทำงานเป็นความรู้ที่คู่ควรบันทึกเลยขอแซงคิวบันทึกไว้ก่อน. ช่วง2ปีก่อน ทางบริษัทมุ่งเน้นหาระบบบัญชีอันใหม่มาทดแทนระบบเก่า ซึ่งต้องอาศัยการนำ software ตัวใหม่เข้ามา implement ทางเราก็จัดทีมทำงานมา ทางบริษัทที่เป็น solution provider ก็เข้ามาทำงานร่วมกับเรา ไม่รู้ล่ะว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ที่แน่ๆคืองานมันเดินไปช้าๆ แต่ทางเราก็ชำระเงินไปอย่างรวดเร็ว. สรุปเราได้ชำระเงินไปเกินครึ่ง ซื้อsoftware. ด้วย แต่ผ่านไป2 ปีทุกอย่างไม่คืบ งานที่ทำเหมือนได้งานแค่ 10-20% ของงานทั้งหมด สิ่งที่วิเคราะห์ออกมาว่าเป็นปัญหามีหลายประการ เช่น เรื่องการที่เราไม่สนใจที่จะส่งงานอย่างตรงต่อเวลา. การเรียงลำดับงานผิดไปทำเรื่องที่ไม่ควรทำก่อน ทำเรื่องที่เป็น facilitator ก่อนเรื่องที่เป็น system. ทุกคนไปทำเรื่องเหล่านี้จนมั่วไปหมด ระบบงานด้านบัญชีจริงๆไม่ได้ทำ. แต่ไม่ใช่เพียงแค่นั้น ทางฝั่ง software provider เองก็เลือกโปรแกรมมาไม่ได้เหมาะสมกับเราซักเท่าไหร่ต้องการ modify กันมากมาย และมาช่วงหลังๆการบริหารงานโครงการก็เริ่มเคี่ยว พอเคี่ยวก็เริ่มมีการกั็ก. งานท่ี่ควรจะเกินไปอย่่งที่ควรมันก็ยุ่ง ในที่สุดทาง software provider ก็มาขอหยุดการดำเนินงาน และกลับมาพร้อมข้อเสนอที่ตลกที่สุดคือ ขอตัดงานบางส่วนออก และถ้าจะทำงานต่อจะขอ charge เพิ่มอีกเกินเท่าตัว

ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตาม เรื่องที่มีการพูดถึงกันบ่อยมากๆคือเรื่องการสื่อสาร จะมีการอ้างกันตลอดว่าสื่อสารไม่ได้ สื่อสารมีปัญหา. แต่พอคุยกันลึกๆแล้วทุกคนก็มาบอกว่าก็คุยกันอยู่บ่อยๆ เวลาในการคุยกันออกจะมากมาย. แต่มีคำพูดมาคำนึงตลอดคือว่า สิ่งที่คุยกันมักจะเป็นเรื่องปลายเปิด คือไม่มีการสรุป เมื่อไม่มีการสรุปก็ไม่มีการตัดสินใจ. หลายๆครั้งพอคุยกันไปๆมาๆ ไม่รู้ว่่าใครต้องไปทำอะไร ทุกคนรอและบอกกันว่า ตัดสินใจไม่ได้. นี่คือปัญหา

พอมาย้อนนึกดูที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานสิ่งที่เกิดขึ้นกับบริษัทแล้วเกิดเป็นผลเสียมากที่สุดบ่อยที่สุด ไม่ใช่การตัดสินใจผิด แต่เป็นการไม่ตัดสินใจ. คราวนี้ผลเสียเป็นตัวเงินชัดๆก็ประมาณ 4 ล้าน ไม่รวมเวลาที่เสียไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง การไม่ตัดสินใจเกิดขึ้นจากความไม่แน่ใจส่วนหนึ่ง ไม่มีเวลาคิดส่วนหนึ่ง และบางทีก็เกิดเพราะความขี้เกียจส่วนหนึ่ง กล่าวคือถ้าเราไม่ตัดสินใจ งานก็ไม่ต้องเริ่มทำ. เรากลัวความผิดเราจึงไม่ตัดสินใจ. แม้แต่สิ่งที่ได้รับมอบหมายมาก็ไม่ตัดสินใจ โยนเรื่องขึ้นข้างบนตลอด เกิดการเสียเวลาอย่างมหาศาล หลายๆอย่างการตัดสินใจไม่ได้มีผลกับค่าใช้จ่ายหรือมีก็น้อย จริงๆแบบนี้ควรตัดสินใจทำไปเลยถ้าได้รับมอบหมายไปแล้ว

บางเรื่องผมไม่ได้เข้าใจดีพอจะตัดสินใจแต่มาถามทั้งๆที่คนที่อยู่กับงานมาแต่ต้นเข้าใจดีกว่า. ถ้าจะมาให้ตัดสินใจก็น่าจะมาถามวนเรื่องที่ผิดข้อตกลง หรือเรื่องที่ไม่เป็นไปตามที่พูดไว้ หรือเรื่องที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากเกินไป เรื่องแบบนี้ต้องมาให้ตัดสินใจถ้าทำได้ หรือถ้ามันฉุกละหุกก็ต้องมารายงาน ผิดก็รับไป เรียนรู้เพื่อแก้ไข ไม่ใช่กลัวผิด กลัวโดนตำหนิจนไม่ได้ทำอะไร

คุณค่าของเวลาที่เสียไปกับการรอคอยโดยไม่ทำอะไร และไม่ทราบว่าจะทำอะไรคือสิ่งที่มีค่ามากที่สุด. ทั้งกับตัวบุคคลเองและกับองค์กรณ์ ชีวิตนี้มันไม่ได้ยาวมาก เวลาที่หายไปเพราะรอการตัดสินใจมันมากมาย จนบางทีอาจจะเสียหายมากกว่าทำผิดเสียอีก ถ้าเปรียบเหมือนกบในหม้อต้มน้ำร้อนที่ค่อยๆร้อนขึ้นพอรู้ตัวก็สายเสียแล้ว มันค่อยๆกัดกินชีวิตเราทีละน้อย บางเรื่องไม่ตัดสินใจเสียที ในที่สุดกก็ไม่ต้องตัดสินใจ เพราะมันเลย dead line มาแล้ว 

ถ้าเราไม่อยากเป็นกบต้ม วันนี้เราต้องเริ่มกลับมาเรียงลำดับความสำคัญของเรื่องที่จะต้องตัดสินใจ และเราต้องตัดสินใจกันเสียที อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไป แน่นอนว่าการตัดสินใจต้องรอบคอบ แต่หลายเรื่องถ้าตัดสินใจไปแล้ว อย่ากลับไปไปมาๆ อย่ามาแก้ตัว ถ้าเรารู้ว่าผิด เราก็พัฒนา อย่าว่าแต่อนาคตไม่แน่ไม่นอน. การตัดสินใจผิดอาจกลายเป็นถูกก็ได้ในที่สุด





วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

กลยุทธ์ไปAEC(ที่คิดไว้)

อันนึงของการหัดเป็นblogger คือการพยายามpost บ่อยๆ ทุกวันได้ยิ่งดี. ถือเป็นการทบทวนชีวิตด้วยไปในตัว วันนี้ขอเอาเรื่องวันศุกร์มาบันทึกเอาไว้

ไม่มีอะไรมากนอกจากประชุมยาวๆทั้งวัน แต่เรื่องที่น่าสนใจคือการเตรียมไปบรรยายเรื่องAEC ให้ลูกค้าของธนาคารกสิกรฟ้ง ในเดือนตุลาคม เชามาถามว่าจะไปพูดอะไรบ้าง ก็เลยสรุปคร่าวๆให้เขาฟังว่าคิดอะไรเตรียมอะไรอยู่

เรื่องแรก ต้องแบ่งแยก AEC. ออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มองไทยว่าก้าวไปก่อนมกับกลุ่มที่มองไทยเป็นคู่แข่ง. กลุ่มที่เห็นว่าเรานำเขาอยู่ส่วนใหญ่คือพวก CLMV. ส่วนที่มองว่าเรากำลังแข่งกับเขาอยู่ก็คือSingapore Malaysia Indonesia ขอเรียกว่า SMI การวางกลยุทํธ์จะต้องแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ในการทำธุรกิจสำหรับผม เชื่อว่ามี 2 ประเด็นหลัก คือ การทำตลาด. กับการสร้างระบบ ในประเทศกลุ่ม SMI กับCLMV มีความต่างกันโดยสิ้นเชิง ในประเทศ CLMV เชามองเราเหมือนเรามอง ญี่ปุ่น มอง อเมริกา ชื่นชมคุณภาพสินค้าของเรา เพราะสินค้าของเราถูกผลิตมาเพื่อรองรับกับผู้บริโภคที่เริ่มมีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สูง. ของอะไรที่ทำในไทย แม้ว่าจะเป็นของที่อยู่ระดับล่าง ก็ยังมีคุณภาพมาตราฐานที่ดี และเป็นที่นืยม ชื่นชมได้ไม่ยาก เพราะฉะนั้นสินค้าอะไรที่ดีของเราที่ทำในเมืองไทยได้ดี. ถ้าไปขายในประเทศเหล่านี่ การปรับเปลี่ยนคุณสมบัติตามตลาดไม่ใช่สิ่งใหญ่ที่สุด เขาพร้อมจะเปลี่ยนมาตามเราอยู่แล้ว ถ้านึกไม่ออก คนอายุ 40 อย่างผมยังจำวันที่คนไทยกินปลาดิบ กันcheese ไม่เป็น ไม่นานนักบัดนี้คนไทยนำวัฒนธรรมทานของดิบมาปรับปรุงกินกันเองอย่างแพร่หลาย เพราะฉะนั้นเรื่องการปรับสินค้าให้เข้ากับประเทศเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องปรับมาก และที่สำคัญอย่าลดคุณภาพเด็ดขาดครับ เขาชื่นชมเราเพราะคุณภาพเป็นไทย เหมือนเราชื่นชมคุณภาพของญี่ปุ่นนั่นแหละครับ

ประเทศ CLMV ตลาดไม่ใช่ปัญหาใหญ่ครับ เจอเพื่อนดีๆ เชื่อถือได้ เอาของเราเข้าไป ยังไงก็ขายได้ มากน้อยอยู่ที่เพื่อนเราเข้าถึงแค่ไหนก็เท่านั้นเอง.  แต่ประเทศพวกนี้ การสร้าง"ระบบ" ธุรกิจยากครับ ถึงยากมาก ตั้งบริษัทยังยาก. ขนของก็ยาก กฎหมายก็ยาก ทำไมยากครับ เอาเรื่องกฎหมายก่อน. ประเทศเหล่านี้ก็เหมือนๆกับไทยเราเมื่อนานมาแล้วล่ะครับ กฎหมายต่างๆก็ศึกษามาจากที่เขามีอยู่กัน บ้างมาดูที่ไทยบ้างไปดูที่ยุโรป บ้างไปดูที่อเมริกา ไปดูมาทุกคนก็บอกว่าจะปรับใช้กให้เหมาะสม กฎหมายต่างๆก็มักจะเกิดมาแบบเหมือนเปี็ยบ หรือบางทีก็แนวตัดแปะ ซึ่งมันไม่ได้ผิดอะไรครับ เริ่มแบบนี้ดีกว่าเริ่มจากศูนย์ แต่ปัญหามันก็คือว่ากฎหมายถ้าจะใช้งานได้มันต้องenforce หรือบังคับใช้ได้ การบังคับใช้ได้ ก็หมายความว่าต้องมีหน่วยงานของภาครัฐที่รองรับ และ"ใช้เป็น". ดังนั้นประเทศที่พึ่งมีระบบที่ชัดเจนจะต้อบใช้เวลาอีกระยะหนึ่งครับ กฎหมายต่างๆจึงเป็นกฎหมาย ดังนั้นกฎหมายอะไรที่เข้าใจยากๆ. เตรียมใจไว้เลยว่าอีก 2-3ปี มันก็อาจจะใช้ไม่ได้ 

การขนของไป คนคนมีคุณภาพไปทำงานก็ไม่ง่ายครับ. การขนของบางทีมีด่านพิเศษรายทาง. บางทีมีปัญหาดึงตามดุลยพินิจย์ กรณีขนคนเก่งๆไป ส่วนมากถ้าให้ไปเที่ยวไปกันครับ. แต่ถ้าให้ไปอยู่ฝังตัว ยากเหมือนกัน เพราะการเดินทางไม่สะดวกภาษายังไม่พร้อมอะไรจิปาถะ เรียกง่ายๆว่า Market ง่ายแต่ไม่ ease of business เลยครับ

เราจะมอง AEC กลุ่มนี้เป็นแค่ตลาดถูกต้องแล้วหรือ ทั้งๆที่โอกาสมหาศาลไม่ได้อยู่ที่ตลาด พรุ่งนี้สัญญาว่าจะมาต่อครับ


วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

AEC. จะทันไหม


ช่วงนี้มีแต่คนพูดถึง AEC. ขำๆเลยนะ ว่าได้ไปฟัง ไปพูดเรื่ิองนี้มาหลายๆครั้ง รู้สึกแต่ว่าเรื่องมันวนไปไปมาๆ. ไม่มีอะไรคืบหน้ายังไงไม่รู้. อะไรที่เราเคยพูด ก็มีคนเอาไปพูด กลับมาให้เราฟัง อะไรที่คนอื่นพูด เราก็เอาไปพูด ย้ำไปซ้ำมา จะมีเรื่องใหม่ๆเกิดขึ้นไม่ได้มาก ส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจแบบนี้ ที่น้องใช้เวลา ออกกฎมาใช้กันยังไม่ค่อยจะเป็น ต้องมานั่งคิดกันอีกว่ากฎนี้จะใช้. จะคิดจะทำอย่างไรกับมัน. เราอยู่ในกระแสมากๆการเปลี่ยนแปลงมันค่อยเป็นค่อยไป เราก็รู้สึกมันนิ่ง เพราะเดี๋ยวนี้มีหลายเรื่องในสังคมที่เปลี่ยนเร็วมากๆ เอามาเทียบกัน มันเลยดูเป็นช้า

แต่มุมมองที่สำคัญที่สุดเรื่อง AEC. น่าจะเป็นว่า การเปลี่ยนแปลงจะเป็นธรรมชาติมากกว่าที่คิด. การขยายตัวไป AEC การรวมตัวกันของ AEC. โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในผืนดินแผ่นเดียวกันกับไทย.  ในที่สุดน่าจะเป็นเหมือนการเปิดโรงงานที่ต่างจังหวัด. เปิดร้านขายเพิ่มที่ต่างจังหวัด มากกว่าไปต่างประเทศ หรืออะไรที่ซับซ้อนกว่านั้น เพราะในที่สุดแล้วนี่คือสิ่งที่เป้าหมายแท้จริงของการรวมตัวกันทางเศรฐกิจ เรื่องปวดหัวต่างๆควรจะยู่ที่ภาครัฐเสียเป็นส่วนมากว่าจะทำให้มันเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร. และจะช่วยส่งเสริมเอกชนยังไงให้มาก เพื่อเราจะได้ใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ได้สูงสุด ส่วนเอกชนจรงๆต้องเตรียมเรื่องภาษา กฎหมายไว้ป้องกันตัวเอง ที่เหลือก็คบเพื่อน ที่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้านเยอะๆเรื่องตลาด เรื่องแรงงานก็เหมือนการขยายตัวปกติ. ถ้าอย่างนี้เราจะเข้าใจ พูดไปไปมาๆบางที ชักซับซ้อน จนคนตื่นกันใหญ่กลัวตกรถไฟบ้างกลัวคนมารุกล้ำอธิปไตยในธุรกิจเราบ้าง. ถ้ามองง่ายๆว่าเหมือนไปเปิดต่างจังหวัด. ภูเก็ตมีโอกาสก็ไปเปิด พัทยามีโอกาสก็ไปเปิด แต่ต้องระวังความไม่สมบูรณ์ของกฎหมาย และเรื่องอื่นๆอีกหน่อยเท่านั้น ส่วนที่กลัวคนบุกเข้ามาก็ไม่ได้ต่างจากที่ค้าปลีกยักษ์ใหญ่ได้เข้ามาบุกในๆทยเท่าไหร่หรอกครับ คือเราเจอมาเยอะแล้ว ตื่นตัวได้อย่าตื่นกลัวครับ

คนมาถามกันว่า ตกลงทันไหม อยากบอกว่า AECน่ะมันคืบคลานมาหาเรา. เราไม่ได้ไปวิ่งตามมัน.  ดังนั้นยังไงก็ทัน ยังไงเราก็ต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของมัน เตรียมตัว เตรียมใจ สำหรับบ้านที่ใหญ่ขึ้น เพื่อนที่มากขึ้น คู่ค้า คู่แข่งที่เพิ่มขึ้น. สถานะการณ์แบบนี้มาทั้งโิอกาส และภัยคุกคาม. เหมือนๆกันกับสิ่งที่เกิดขึ้นทุกๆวัน เพราะเราก็ได้อยู่ในกระบวนการ การกลายเป็น AEC อย่างช้าๆอยู่ตลอดเวลา




วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การประสานงาน


การประสานงาน คงเป็นเรื่องใหญ่มากๆในองค์กรณ์ต่างๆ. ถ้าจะเรียกขำๆก็ต้องบอกว่า หลายๆครั้งทำงานคนเดียวดีกว่า เพราะทำหลายๆคนแล้วมันยุ่ง. ผมคิดว่าปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับการประสานงานจริงๆแล้ว คือ การจัดเวลามาประสานงานกันนั่นแหละครับ ตอนแรก คืดว่าปัญหามันหนักหนาสาหัสกับเราอยู่คนเดียว แต่พอรู้ว่าองค์กรณ์ใหญ่ๆอย่าง google. ใช้การประชุมที่มีการกำหนดเวลาในแต่ละหัวข้อ แถม เป็นการจับเวลาถอยหลังเสียด้วย ก็เลยคิดว่าเรื่องนี้เป็นป้ญหาทั่วไปเลยทีเดียว

เพราะไอ้เรื่องการประชุมนอกเรื่องนอกราวนี่แหละครับ เป็นประเด็นหลักในการประสานงานอย่างไร้ประสิทธิภาพ. พอทำงานไม่ได้ผลกัน ข้ออ้างข้อนึงที่มักจะมาพูดกันแบบคนกันเองนะครับคือ. ไม่ค่อยได้คุยกัน คุยกันน้อยไป นี่ขนาดประชุมกันจนไม่มีเวลาได้ทำงานยังคุยกันน้อยไป มันน่าจะเป็นปัญหาของการ คุยผิดเรื่องไปเสียแล้ว.ประชานเ แต่ใช้เวลาในการประชุมในการบ่น หาข้อแก้ตัว ไม่ได้เอามาทำงาน หรือแม้แต่นั่งหลับ คนพูดก็พูดไป ไม่ไก้เกิดการสื่อสารกันจริงๆ ถ้าไม่มีการสื่อสารก็ไม่มีการประสานงาน. แน่นอนครับว่าไม่ใช่ทุกคนทุกครั้งจะเป็นอย่างนี้ไปเสียหมด แต่มันคงเป็นอย่างนี้บ้าง จะดีแค่ไหนถ้าการประชุมไม่เป็นอย่างนี้เลย 

แต่หลักใหญ่ใจความของการประสานงานคือ commitment ในการใส่ใจผู้ร่วมงานครับ. นอกการประชุม มีอีกหลายๆเครื่องมือในการประสานงาน ผมรู้จักบางคนไม่เคยยอมอ่าน email. เขาก็หลุดวงโคจรของการประสานงาน email เป็นเพียงสื่ออย่างนึงเท่านั้น สื่อจะเป็นอะไรก็ได้ แต่ความใส่ใจเป็นเรื่องสำคัญ กลไกวิธีจะเป็นอะไรก็ได้ แต่ความใส่ใจเป็นเรื่องสำคัญ

ถ้าเราจะคิดแก้ เรื่องการประสานงานเราคิดกันที่เรื่องความใส่ใจซึ่งกันและกัน แล้วทุกอย่างมันจะตามมมเองครับ

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สอบตก

เมื่อวานฟังรายการนึง พูดถึงนักธุรกิจทำเฟอร์นิเจอร์ส่งออก จากผักตบชวา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะเอาของที่ไม่เกิดประโยชน์มาสร้างมูลค่าได้มหาศาลนอกจากช่วยกำจัดมลพิษ แล้วยังสร้างงานให้กับชุมชนอีกด้วย ความคิดดีๆที่ได้จากเขาก็มีหลายๆเรื่อง ที่ชอบๆก็มีว่า ที่ต้องเอาผักตบมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ก็เพราะว่า ถ้าเอามาทำเป็นภาชนะแบบotop ทั่วๆไป มันใช้ปริมาณผักตบน้อย ไม่น่าจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผักตบได้. แต่พอเอามาทำเฟอร์นิเจอร์ คราวนี้ใช้เยอะเลย สมดุลย์กับการแก้ปัญหา จะเห็นได้ว่าไอเดียดีๆ ต้องคำนึงถึงความสมดุลย์ด้วย มันถึงจะเป็นไอเดียที่ดียอดเยี่ยมได้. 
นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงเรื่องความเป็นไทย. เขาบอกว่าตอนออกแบบไม่ให้ทุกคนคิดเรื่องของความเป็นไทยเลย. แต่ให้คิดว่าออกแบบให้คนในอาเซี่ยนใช้. ผมว่าอันนี้ก็เจ๋ง เพราะวันนี้ทำสินค้ากันออกมา มัวแต่ยึดติดกับความเป็นไทยมากไปซึ่ง ผมถือว่าเป็นอีโก้ที่เราก้าวไม่พ้น เป็นส่วนที่เราอยากอวด แต่มันไม่ได้มีคนอยากได้ เพราะเราอยากอวดของที่เรามีก่อน โดยลืมนึกถึงคนอื่น ถ้าเราออกแบบโดยคิดถึงคนอื่นก่อน แล้วเรามีดีอะไรค่อยเสริมเติมแต่งทีหลัง ผมว่าการออกแบบก็จะเกิดประโยชน์มาก ใช้งานได้จริง เป็นที่นิยมได้ไม่ยาก

แต่ที่เด็ดสุด คือเขาบอกว่าตอนแรกๆ เขาเป็นนักออกแบบ เห็นช่องทางแล้วก็มาทำธุรกิจ ครั้งแรกก็ไปไม่ได้ เขาเปรียบว่าตนเองออกมาทำธุรกิจเลย ไม่ได้เรียนรู้มาก่อน ไม่ได้ลงทุนลงแรงศึกษา หรือไม่ได้โชคดีมีคนสอน ไม่เคยไปทำงานกับคนอื่นมาก่อน. พอมาทำธุรกิจ ก็เปรียบได้กับคนไม่เคยอ่านหนังสือ เรียนหนังสือ แต่ดันกระโดดไปสอบเลย ผลก็คือ "สอบตก". การสอบตกครั้งนั้นก็เลยเป็นบทเรียนให้กลับมาทำธุรกิจจนสำเร็จ

ผมเห็นคนบางคน พยายามเริ่มทำอะไรด้วยตัวเอง แต่ปฎิเสธที่จะเรียนรู้จากคนอื่น. ปฎิเสธการลงทุนทำงานกับคนอื่น อ้างว่าไม่ถนัดบ้าง ไม่อิสระบ้าง หรือพอถูกดุว่า ก็น้อยใจ โกรธ พอไม่ยอมรับความผิดเสียแล้ว มันก็เติบโตไม่ได้ มันก็ไม่แปลกที่เขาจะเริ่มต้นใหม่หลายๆครั้ง และไม่ได้ไปไหน ไม่ได้ไปข้างหน้า บางทีไปเรียกงานที่คนอื่นแนะนำว่า งานสิ้นคิด. ด้วยความหยิ่งในตัวตน งานต่างๆในชีวิตที่ไม่ชอบ ที่ไม่มายกยอเชิดชู มันไม่ดีไปหมด โอกาสที่เขาจะผิดพลาด มันก็จะมหาศาล เพราะเขาดูถูกคนอื่น เห็นคุณค่าตนเองมากไป. การจะประสบความสำเร็จได้นั้น เราต้องเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่าง บางอย่างก็สนุก บางอย่างก็เครียด บางอย่างก็ต้องอดทน. คนที่เลือกที่จะทำงานแต่สิ่งที่ตนชอบ จะสำเร็จได้มันยาก บางทีไม่ได้ชอบยังต้องทำใจให้ชอบเลย. คนประเภทนี้จึงสอบตกอยู่บ่อยครั้ง เพราะเขาไม่พัฒนาเลย

วันนี้ผมก็สอบตกเหมือนกัน ได้ข้อคิดดีๆ มาจากรายการอะไร ใครพูดก็ไม่ได้คิดจะจำ พอเก็บมาเขียนรู้เลยว่าตัวเองไม่ได้ทำในสิ่งที่ควรจะทำ คือการให้ิกียรติต้นเรื่อง ต้นความคิด. แต่เอาเถอะ จะตั้งใจทำให้ดีขึ้นก็แล้วกัน. ขอให้การ"สอบตก". ครั้งนี้เป็นครูสำหรับการเขียนblogของผมอีกคนก็แล้วกัน

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความผิดพลาด


เรื่องหนึ่งซึ่งน่าสนใจในชีวิต คือการยอมรับความผิดพลาดของตนเอง. การยอมรับว่าตนเองผิดคือบ่อเกิดของการพัฒนา ปัญหาคือหลายๆครั้งแม้ว่าผลของการกระทำมันฟ้องว่าเราพลาด แต่เราก็พยายามหาข้อแก้ตัวให้กับความพลาดในชีวิต ไม่ได้ยอมรับ อันนี้ทำให้เราเองไม่ได้พัฒนา และหลายๆครั้ง คนที่รักเราก็ไม่กล้าบอกว่าเราผิด อันนั้นทำให้เราไม่พัฒนา. เรามัวแต่หลงอยู่กับการพยายามพิสูจน์ตัวตนของตัวเองจนลืมฟังคำตำหนิ


อย่าลืมมองให้เห็นความผิดของตนเอง เพื่อตนเองจะได้พัฒนา

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ ความเข้าใจ และความชำนาญ

มีเรื่องหนึ่งซึ่งคิดว่่าน่าสนใจ คือการตกผลึกแนวคิดเรื่องความรู้ ความเข้าใจ และความชำนาญ น่าแปลกที่เรื่องแบบนี้เราเอากลับมาฉุกคิดไม่บ่อยนัก เราใช้คำเหล่านี้บ่อยๆ. แต่หลายครั้งก็ใช้มันสับสน


ที่จริงใน3คำนี้. ความรู้เป็นเรื่องที่ได้มาง่ายที่สุด. โดยเฉพาะในบริบทปัจจุบัน ที่ แค่กดก็รู้ได้ไม่ยาก. คนในอดีตการได้ความรู้มาแต่ละอย่าง ช่างยากเย็น เพราะต้องไปกราบอาจารย์ ไปหาคนที่มีความรู้มาสอน. หาตำรามาอ่าน บางทีอยากรู้เรื่องนิดเดียว ต้องเสาะหาอาจารย์นาน ต้องอ่านหนังสือหลายเล่ม. ความรู้ในอดีตจึงเป็นเรื่องที่มีค่ามากๆ เดี๋ยวนี้ด้วยการเผยแพร่ของ internet. และใจที่เปิดกว้างของผู้รู้ รวมทั้งความอยากอวด และการทำ marketing ของคนทำให้ความรู้มีเกลื่อนไปหมด. มีคนบอกว่า แม้กระทั่งถ้าอยากจะทำระเบิดนิวเคลียร์ ยังหาได้เลยจากอินเตอร์เน็ต. เมื่ออาทิตย์ก่อนเอาขาแฮมเสปนมาจากเสปน เป็นของดี แต่บอกจรงๆไม่มีปัญญาแล่ หรือจัดการให้มันกินได้. ต้องไปขอให้เพื่อนช่วย เพื่อนก็น่ารักให้ยืมเครื่องมือ และหลุดมาคำวดีYouTube หรือยัง กลับมาเลยมาดู YouTube ใช้เวลา 15 นาที ก็รู้แล้วว่าต้องทำยังไง. พอเห็นอย่างนี้แล้ว แม้กระทั่งลูกสาวที่เพิ่ง 6 ขวบได้ไม่นาน ก็รู้วิธีทำ cake รูปเมอร์เมดร์ เป็นจากการดู YouTube ก็จะเห็นได้ว่าความรู้มีเยอะไปหมด ย่อยมาให้เข้าใจ ความลับเรื่องความรู้มันไม่ได้มีมากเหมือนเมื่อก่อน. ตอนนี้คนที่มีความรู้ก็ต่างอะไรกับคนที่มีความสามารถที่จะหาความรู้แค่ไม่กี่นาที เรียกง่ายๆว่าถ้าไม่รู้กลายเป็นรู้ ใช้เวลา 20นาทีก็อยู่แล้วในหลายๆเรื่อง.  

ถ้าความรู้ไม่ใช่สิ่งที่กำหนดความสำเร็จอีกต่อไป เพราะมันหาได้ง่ายเหลือเกิน. อะไรที่จะทำให้คนทำอะไรได้มากหว่าคนอื่น ถ้าคิดง่ายๆคือ ต้องจำได้ครับ ในอดีตคนจะจำอะไรได้. ความรู้หายาก ก็ต้องพยายามจะจำมันให้ได้ ก็มีเทคนิคตั้งแต่แบบสนุก ยันแบบโหด. แบบสนุกก็อาจจะเอาความรู้พื้นฐานมาแต่งเป็นกลอนเป็นเพลง ผมเชื่อว่าหลายคนคงท่อง ABC ได้จากการหารือร้องเพลง. ท่อง 20ไม้ม้วนได้จากคำกลอน ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ.....   อันนี้เป็นเทคนิคที่คนในยุคความรู้ยากใช้ แบบโหดๆเลยก็บังคับให้ท่อง เพราะมันหามายากลืมไปเสียก็ไม่คุ้มต้องทั้งบังคับ ทั้งหลอกล่อให้มันฝังอยู่ในหัว แต่คนในสมัยนี้กลับเปลี่ยนไป อะไรจำไม่ได้เปิดเน็ตดู ความอดทนในการท่องจำ ความสร้างสรรค์ที่จะทำให้จำได้มันก็เลยหายไป. ซึ่งเป็นข้อเสีย เพราะคนเราจะเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการเอามา"ผูก"ความรู้กันจะเห็นมุมมองที่แตกต่าง การผูกมันทำได้ในสมองเราเท่านั้นแหละครับ ถ้าจำไม่ได้เราก็ผูกไม่ได้ เราก็ไม่ฉลาดขึ้น

เดี๋ยวนี้ ความรู้มันเยอะ เราต้องเลือกรู้ ถ้าเป็นเรื่องที่เราชอบก็ดีมาก. แต่เราต้องเลือกอ่านเลือกดูความรู้ที่เป็นประโยชน์กับชีวิต แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เราไม่ได้ชอบ แล้วพยายามที่จะชอบมัน

คนที่จะทำอะไรได้มาก เอาความรู้มาผูกเรื่องในสมองได้มาก เรียกได้ว่ามีความเข้าใจ. ความเข้าใจจะเกิดไม่ได้เลยถ้าขาดความใส่ใจ เช่นการผูกความรู้การกระทำ กับความรู้เรื่องผลของการกระทำ ความรู้หาง่ายใน internet แต่ความเข้าใจต้องหาในสมองขิงเราเอง. คนธรรมดาคนหนึ่ง แค่เขาคอยใส่ใจ คอยสรุปว่าชีวิตฉันทำอะไรลงไป แล้วผลของมันเป็นยังไง ทำทุกวันก็ฉลาดขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้นแล้ว ความเข้าใจคือความรู้ชนิดนึง ที่เห็นถึงความสัมพันธ์ของความรู้ หรือการกระทำ การรับรู้ว่าความรู้แบบไหนมัน work แบบไหนมันงงๆ แบบไหนมันเป็นแค่เรื่องหลอกๆ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะได้มาต้อง earn. ต้องมีความใส่ใจ ต้องมีpassion. 
คนที่จะทำอะไรสำเร็จต้องมีความเข้าใจ. แยกแยะความรู้ได้ เข้าใจว่าความรู้ใช้ยังไงเกิดผลยังไง อันนี้คนไม่ค่อยสนใจจะเผยแพร่มากเท่าควารู้อื่นๆ เพราะมันเยอะมากและมันน่าเบื่อ ไม่ได้น่าตื่นเต้นมาก คนที่จะมีความเข้าใจได้เลยต้องเป็นคนที่ขุด หา มีตวามใส่ใจกับเรื่องนั้นๆจริงๆ ส่วนความชำนาญ ความถนัดนั้น มันเกิดจากการฝึกฝน สนใจ ไม่มีทางอื่นที่จะได้มา

ถ้าสรุปง่ายๆ ความรู้เดี๋ยวนี้หาได้ง่าย. แยกแยะคนที่จะสำเร็จ ไม่ได้อยู่ที่ความรู้ แต่กลายเป็นความใส่ใจ และการฝึกฝน ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ และความชำนาญผมก็ไม่รู้ว่าอีก 20 ปี เรื่องนี้จะเปลี่ยนไปไหม. เราจะแข่งกันด้วยอะไร แต่ในวันนี้ ปี2012 ที่เคยคิดว่ารู้มากจะชนะ ต้องเลิกคิด เพราะจะเข้าทำนอง ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ตอนนี้ทุกอย่างกลับมาอยู่ ที่ passion. ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ. ทุกคนรู้เท่ากันหมด แต่คนที่จะสำเร็จ คือคนที่ใส่ใจมากกว่า และขยันกว่า เท่านั้นเองครับ